เมนู

3. ปฐมเวทนาสูตร


ว่าด้วยเวทนา 3 ประการ


[230] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้ 3 ประการเป็นไฉน ?
คือ สุขเวทนา 1 ทุกขเวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เวทนา 3 ประการนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่น
ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิด
แห่งเวทนา ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่ดับ
แต่งเวทนา และมรรคอันให้ถึงความสิ้น
ไปแห่งเวทนา ภิกษุหายหิวแล้ว ดับรอบ
แล้ว เพราะความสิ้นไปแต่งเวทนาทั้งหลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปฐมเวทนาสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมเวทนาสูตร


ในปฐมเวทนาสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เวทนา ความว่า เจตสิกธรรม ชื่อว่า เวทนา เพราะรู้
คือ เสวยรสแห่งอารมณ์. เพื่อจะทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น โดยจำแนกออกไป
จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุขา เวทนา ดังนี้. บรรดาศัพท์เหล่านั้น สุขศัพท์
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ด้วยสามารถแห่งอัตถุทธารกัณฑ์.
แต่ ทุกข ศัพท์ มาในเรื่องของทุกข์ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ชาติปิ
ทุกฺขา
(แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์). มาในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ ทุกฺขํ ทุกฺขานุปติตํ ทุกฺขาวกฺกนฺตํ
ดูก่อนมหาลี เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ ถูกทุกข์ติดตาม (และ) หยั่งลงสู่ทุกข์.
มาในการสะสมทุกข์ ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย การสั่งสม
บาปเป็นทุกข์. มาในฐานะอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ดังในประโยคว่า ยาวญฺจิทํ
ภิกฺขเว น สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ ยาว ทุกฺขา นิรยา
เพียงเท่านี้
จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์ ไม่ใช่ทำได้ง่าย. มาแล้วในทุกขเวทนา
เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปทานา เพราะ
ละสุข และละทุกข์เสียได้. แม้ในพระสูตรนี้ก็มาแล้วในทุกขเวทนาเท่านั้น.
แต่โดยอรรถพจน์ ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย. ชื่อว่าทุกข์ เพราะยัง
ผู้เสวยให้ลำบาก. เวทนา ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะไม่ทุกข์ไม่สุข.
อักษร (ในคำว่า อทุกฺขมสุขา) ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งบทสนธิ.
บรรดาเวทนาทั้ง 3 เหล่านั้น เวทนาที่มีการเสวยอิฏฐารมณ์เป็น
ลักษณะ ชื่อว่า สุขเวทนา. ที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า